วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วิธี setup ระบบอีเมล์องค์กรผ่านเซิร์ฟเวอร์ Exchange บน Office 365


exch-admin-screen
เป็นที่รู้กันดีว่า Microsoft Exchange  เป็นเซิร์ฟเวอร์รองรับระบบอีเมล์ระดับองค์กรที่หลายๆ หน่วยงานให้ความไว้วางใจ แม้จะเป็นซอฟท์แวร์ที่ราคาออกจะโหดอยู่สักหน่อยท่ามกลางซอฟท์แวร์จำพวก Opensource ที่เข้ามาเป็นทางเลือก แต่องค์กรชั้นนำส่วนใหญ่ก็ยังเลือกใช้อยู่ดี แต่การมาถึงของ Office 365 ระบบปฏิบัติการซอฟท์แวร์บน Cloud กำลังเป็นอีกมิติหนึ่งที่ช่วยให้ซอฟท์แวร์เป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้นเพราะแม้แต่ธุรกิจขนาดเล็กและผู้ใช้งานทั่วไปก็สามารถเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ Exchange ได้แล้ว บวกกับค่าบริการที่ถูกลง เริ่มต้นเพียงแค่ 4 เหรียญต่อเดือนก็สามารถใช้งานอีเมล์บนเซิร์ฟเวอร์ Exchange ได้
เมื่อเข้าถึงง่ายขนาดนี้ ในฐานะผู้ใช้งานอย่างเราๆ ก็ควรจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเปิดบัญชีผู้ใช้งานบน Exchange กันบ้างแล้ว
exch-domain-manager
ตั้งค่า domain name
1. ก่อนจะสร้างบัญชีผู้ใช้ ควรจะศึกษาภาพรวมของซอฟท์แวร์ Office 365 ใน Admin Center ก่อนว่ามีคุณสมบัติและการใช้งานอย่างไรบ้าง โดยเข้าไปที่ https://portal.microsoftonline.com ก็จะพบกับหน้า Dashboard ซึ่งรวม services ต่างๆ ในชุดซอฟท์แวร์ Office 365 ไว้ในนั้นแล้ว
2. เตรียมสร้าง domain name ของคุณเอง ซึ่ง domain name นี้จะเป็นเหมือนทางเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อให้บัญชีผู้ใช้ของคุณเข้าถึงองค์รวมของ Office 365 ได้ วิธีการสร้าง domain name มีด้วยกันดังนี้คือ
exch-user-buttons

- กรณีที่ได้ทำการ register ตัว domain name ไว้แล้ว ให้คลิ้กที่ Add a domain ซึ่งคุณจะต้องทำการ log in ด้วย domain นี้สำหรับจัดการบัญชีผู้ใช้ Office 365 ไปจนตลอดอายุการใช้งาน
- กรณีที่ยังไม่มี domain name หรือต้องการสมัคร domain name ใหม่เพิ่มเติม ให้คลิ้กที่ Buy a domain เพื่อทำการสั่งซื้อ domain name ใหม่ ระบบบัญชีผู้ใช้ของ Office 365 นั้นเราสามารถสร้าง domain name ใหม่ได้ไม่จำกัด โดย 1 domain name ก็จะเท่ากับ 1 บัญชีผู้ใช้ ซึ่งหากมี domain name ใดที่ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานๆ หรือต้องการสร้างเก็บไว้ใช้ในอนาคต ก็สามารถเข้าไปตั้งค่าสถานะโดเมนเป็น inactive ได้ หรือ remove ออกได้เมื่อไม่ต้องการใช้งานโดเมนนั้นๆ แล้ว
exch-clicked-filter-button

การตั้งค่าและลำดับความสำคัญของผู้ใช้งาน หลังจากเราเช็ค domain name ว่าพร้อมสำหรับการใช้งานแล้ว ก็ต้องตั้งค่าผู้ใช้งาน หรือผู้ดูแลระบบบนเครือข่าย Office 365 ของเรา โดยขั้นตอนนี้ให้คลิ้กที่ Users and Groups ในแถบตัวเลือกทางซ้าย โดยขณะที่เรา log in เข้าระบบ จะแสดงบัญชีผู้ใช้เฉพาะ log in ของเราเท่านั้น ให้ดูที่ปุ่มเครื่องมือทั้ง 4 ปุ่มบน Display Name ซึ่งแต่ละปุ่มจะทำหน้าที่แตกต่างกันไป คือ ปุ่ม + สำหรับเพิ่มจำนวนผู้ใช้ 1 บัญชี, ปุ่ม สำหรับเพิ่มจำนวนผู้ใช้คราวละหลายคน, ปุ่ม สำหรับกรองลำดับความสำคัญของผู้ใช้ และปุ่ม สำหรับค้นหาบัญชีผู้ใช้ทั้งหมด
การสร้างบัญชีผู้ใช้แบบรายบุคคล (one user at a time)
การสร้างบัญชีผู้ใช้แบบรายบุคคลก็เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการจัดลำดับและคัดกรองผู้ใช้ได้ง่ายขึ้น ทำได้โดยคลิ้กที่ไอค่อน Plus จากนั้นทำการใส่ค่า New User โดยเลือกที่ Details ซึ่งระบบก็จะให้เราใส่ค่าเบื้องต้นทั่วไปของผู้ใช้งาน หากเรียบร้อยแล้วคลิ้ก Next
ในหน้าถัดไปคือ Settings ให้เราเลือกกำหนดว่าจะอนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบ Office 365 ขององค์กรหรือไม่ และอย่าลืมเลือกค่า location ให้ผู้ใช้งานด้วย จากนั้นคลิ้ก Next
exch-new-user-details
ในหน้าถัดไปคือ Licenses ซึ่งจะให้ทำการเลือก services ต่างๆ ในชุดซอฟท์แวร์ Office 365 ที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานเข้าถึง เมื่อเลือก services ให้กับผู้ใช้งานแล้ว คลิ้ก next
ในหน้าถัดไปคือ Send Results ระบบจะให้เรากรอกอีเมล์ของผู้ใช้งานที่เราได้ตั้งค่าไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อทำการส่ง login และรหัสผ่านไปให้ผู้ใช้งานทางอีเมล์ หากยืนยันการส่งให้คลิ้ก create เพื่อให้ระบบสร้าง login และรหัสผ่านให้กับผู้ใช้ หากเรียบร้อยแล้วคลิ้ก finish
exch-set-sign-in-status
exch-choose-licenses
exch-send-results
exch-password-notice

การสร้างบัญชีผู้ใช้แบบกลุ่มใหญ่
ในการจัดการระดับองค์กร แน่นอนว่าย่อมต้องมีผู้ใช้งานระบบเป็นจำนวนมาก การจะสร้างบัญชีผู้ใช้แบบเป็นคนๆ จึงเป็นเรื่องน่าเสียเวลา ระบบจัดการผู้ใช้ของ Exchange จึงมีฟังก์ชั่นการจัดการผู้ใช้แบบกลุ่มใหญ่ที่สามารถเก็บ log ของผู้ใช้ไว้ในรูปแบบของไฟล์ .csv บน Microsoft Excel ทั้งรายชื่อผู้ใช้ ตำแหน่ง และหน่วยงานที่สังกัด เป็นต้น
exch-user-list-with-2-users
วิธีนี้ให้ทำการตั้งค่าโดยไปที่ Users and Groups –>คลิ้กที่ไอค่อน Bulk Add –> เลือก select file เพื่อทำการ browse ไฟล์ .csv ที่ได้ทำการเก็บรายละเอียดผู้ใช้งานไว้ก่อนหน้านี้ จากนั้นคลิ้ก next เข้าสู่การ verification ซึ่งหากบัญชีผู้ใช้ผ่านการตรวจสอบจะแสดงผลเป็น users that passed verification หากไม่ผ่าน ก็จะแสดงผล error ออกมา ซึ่งสามารถ back กลับไปทำการแก้ไขได้
หากบัญชีผู้ใช้ผ่านการตรวจสอบ ขั้นตอนต่อไปคือตั้งค่า settings โดยเข้าไปกำหนดว่าจะอนุญาตให้ผู้ใช้งานเข้าถึงระบบหรือไม่

exch-bulk-usersexch-select-csv-file

ตั้งค่า Outlook 2013 ได้ด้วยตัวเองบน Windows 8 ผ่านเซิร์ฟเวอร์ Exchange 2013


เชื่อว่าตอนนี้ Office 365 น่าจะเป็นที่อีกหนึ่งระบบ office suite ที่เริ่มจะเป็นที่คุ้นเคยในหมู่ผู้ใช้ Windows กันบ้างแล้ว และเชื่อว่าหลังจากที่ Office 365 ชูความเด่นในเรื่องของระบบ cloud ด้วยแล้ว นับจากนี้อีกหนึ่งซอฟท์แวร์ทีี่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างปฏิเสธไม่ได้ก็คือ Exchange 2013 ระบบเซิร์ฟเวอร์ที่รองรับการบริการรับส่งอีเมล์ผ่าน Microsoft Outlook โดยเฉพาะ ซึ่งทางไมโครซอฟท์เองก็พัฒนา Office Suite ชุดนี้มาพร้อมๆ กับช่วงเปิดตัวระบบปกิบัติการเวอร์ชั่นล่าสุด Windows 8 ด้วย
ทิปส์วันนี้ เราจึงขอเจาะไปที่ผู้ใช้ Windows 8 โดยเฉพาะครับ โดยจะขอเลือกหนึ่งในแอพพลิเคชั่นสามัญประจำเครื่องที่ขาดไม่ได้อย่าง Outlo0k 2013 สำหรับคนที่สนใจอยากจะติดตั้งพร้อมกับตั้งค่าการใช้งานด้วยตัวเอง
อันดับแรก สำคัญที่สุดคือ “เซิร์ฟเวอร์” ซึ่งคุณจะต้องสมัครบัญชีผู้ใช้เซิร์ฟเวอร์กับ Exchange 2013 เสียก่อน ส่วนโฮสต์นั้นก็เลือกได้ตามแต่ผู้ให้บริการ หรือจะสมัครบัญชีที่โฮสต์โดย Microsoft เองก็ได้ ซึ่ง Microsoft ก็เพิ่งจะเปิดบริการนี้ได้ไม่นาน จากนั้นก็มาดูว่าซอฟท์แวร์ทั้ง Outlook 2013 และระบบปฏิบัติการ Windows 8 อยู่ในสถานะที่พร้อมจะทำการตั้งค่าหรือไม่ครับ
3103
1. เมื่อพร้อมจะทำการติดตั้ง ก็เปิดโปรแกรม Outlo ok หน้าจอแรกจะปรากฏช่องให้ใส่คำค้น พิมพ์คำว่า mail จะปรากฏหน้าจอทางขวาจะเป็นส่วนค้นหาสิ่งที่ต้องการตั้งค่า หรือ Search ตรง Search นี้ ให้คลิ้กไปที่ Settings จากนั้นทางซ้ายมือจะปรากฏไอค่อน Mail ขึ้นมา
2. คลิ้กที่ไอค่อน Mail จะปรากฏป๊อปอัพ Mail Setup -FAQ ขึ้น คลิ้กไปที่ปุ่ม Show Profiles
3967 (1)
3. คลิ้กที่ Add ในแท็บ General เพื่อให้เราสร้าง profile ใหม่ ก็กรอก profile name ที่เราต้องการใช้ลงไป จากนั้นคลิ้ก OK
3968
3969
4. จากนั้นป๊อปอัพเพิ่มบัญชีผู้ใช้ (Add Account) จะขึ้นมาให้เราตั้งค่า ให้เลือกไปที่ Manual setup or additional server type จากนั้นคลิ้ก Next
3364
5. เลือก Microsoft Exchange Server or compatible service จากนั้นคลิ้ก Next
3371

6. เข้ามาที่ Information For Users เพื่อตรวจสอบค่า Manual configuration alias ของผู้ใช้ เช่นตัวอย่างในภาพจะเป็น 3035ce66-7362-49d7-9cc8-dbc42770e7d7@EXAMPLE.COM
3373
7. ตรวจสอบค่าเซิร์ฟเวอร์แล้ว ให้ติ๊กที่กล่องหน้าข้อความ Use Cached Exchange Mode และเลื่อนบาร์ Mail to keep offline ไปที่ค่าสูงสุดคือ “all” แล้วคลิ้กต่อไปที่ More Settings
3365
8. จะปรากฏป๊อปอัพ Microsoft Exchange ให้เลือกไปที่แท็บ Connection แล้วเลือกไปที่ข้อความ Connect To Microsoft Exchange using HTTP แล้วคลิ้กต่อที่ปุ่ม Exchange Proxy Settings
3366
9. ป๊อปอัพ Microsoft Exchange proxy Settings จะปรากฏขึ้น ตรงส่วนของข้อความ Use this URL connect to my proxy server for Exchange ให้ใส่ URL ของเว็บเมล์ที่ตรงกับค่าใน User Information ดังตัวอย่างในภาพจะเป็น webmail.example.com
3367
ในส่วนถัดมา ให้ตรวจสอบว่าได้ทำการติ๊กเลือกที่หน้าข้อความ On fast networks, connect using HTTP first, then connect using TCP/IP และ On slow networks, connect using HTTP first, then connect using TCP/IP และค่าที่อยู่ใน Proxy authentication settings ก็จะต้องเป็น Basic Authentication เมื่อค่าตรงตามนี้ทั้งหมด คลิ้กที่ OK
10. ตรวจสอบว่าได้มีการใส่ค่าอีเมล์ใน Server Settings และเป็นอีเมล์ที่สามารถใช้งานได้หรือไม่ โดยคลิ้กที่ Check name
3372
11. กรอก password เพื่อยืนยันการใช้งานอีเมล์
3369
12. การตั้งค่าจะสำเร็จหากเซิร์ฟเวอร์ตอบรับการตั้งค่าให้ตรงกับที่เราได้กำหนดไป หากการตั้งค่าเรียบร้อยแล้ว คลิ้ก Finish เป็นอันเสร็จสิ้นการตั้งค่า
3374

3370

13. ปิดหน้าจอในส่วนของ Mail จากนั้นเรียกโปรแกรม Outlook โดยใส่ password ตามที่ได้ตั้งค่าไว้ เท่านี้ก็พร้อมจะใช้งาน Outlook บน Windows 8 แล้ว
3115

ลิขสิทธิบทความของ 2beshop.com
ผู้แทนจำหน่าย Microsoft Office365

แบ็คอัพอีเมล์สำคัญใน Outlook 2013


ผู้ใช้หลายคนเมื่อเกิดอาการคอมพิวเตอร์ค้างหรือช้าลง มักจะมองข้ามสาเหตุที่เกิดจากโปรแกรมที่เราใช้งานเป็นประจำทุกวันและมีการเชื่อมต่อกับภายนอกอย่างเช่นอินเทอร์เน็ตหรืออีเมล์ และเอกสารหรือไฟล์สำคัญต่างๆ ในอีเมล์นี่แหละที่มีผลต่อการจัดเก็บข้อมูลของเราโดยตรง ยิ่งเรามองข้ามเรื่องการจัดระเบียบอีเมล์ วันดีคืนดีเราอาจจะต้องเสียอีเมล์ฉบับสำคัญหรือไฟล์ที่จำเป็นใช้งานไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หากเราไม่ให้ความสำคัญกับการจัดระเบียบอีเมล์เท่าที่ควร
ใน Outlook 2013 นอกเหนือจากการใช้งานในฟังก์ชั่นต่างๆ ทั้งเก่าใหม่ที่เราต้องเรึยนรู้แล้ว การแบ็คอัพข้อมูลสำคัญในอีเมล์ เช่น จำนวนการรับ-ส่งอีเมล์ในเครื่องของคุณ, ตารางการทำงาน, บันทึกช่วยจำรวมถึงรายชื่อทั้งหมดที่อยู่ในลิสท์ ก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และอาจจะสำคัญที่สุดด้วยหากคุณใช้งาน Outlook อยู่เป็นประจำสม่ำเสมอ
วิธีการแบ็คอัพไฟล์ข้อมูลใน Outlook 2013 ก็ไม่มีอะไรซับซ้อนยุ่งยากและสามารถจัดการด้วยตัวคุณเองได้ เพียงลองทำตามขั้นตอนง่ายๆ ดังต่อไปนี้ครับ
1. เรียกโปรแกรม Microsoft Outlook 2013 จากนั้นไปที่เมนู คลิ้กที่ File จากนั้นคลิ้กที่ Import/Export เสร็จแล้วให้คลิ้กที่ปุ่ม Outlook ดำเนินการต่อโดยคลิ้กที่ Export ตรงส่วนของ File จากนั้นคลิ้กที่ Next
outlook-import-export
2. จะปรากฏป๊อปอัพขึ้นมาให้เลือกว่าจะเซฟอีเมล์ของเราในรูปแบบใดระหว่างโฟลเดอร์จัดเก็บเอกสารส่วนตัว (Personal Folder) หรือจัดเก็บในรูปแบบของไฟล์ .pst เมื่อเลือกแล้วจากนั้นก็คลิ้ก Next
outlook-pst-export
3. จะปรากฏป๊อปอัพหน้าต่างขึ้นมาเพื่อให้เราเลือกโฟลเดอร์ปลายทางในการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลแบ็คอัพ แนะนำว่าให้ทำการสร้างโฟลเดอร์ไว้ใน drive ที่ต้องการจัดเก็บพร้อมกับตั้งชื่อที่คุณสามารถจำได้ด้วยนะครับ จะเป็นในคอมพิวเตอร์ของคุณเอง หรือ External Hard Drive หรือแฟลชไดรฟ์ก็ได้ เช่น สร้างโฟลเดอร์ใหม่ที่ชื่อว่า Backup_Outlook_2013 ในไดรฟ์ D เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนนี้ ก็ให้เข้าไปเลือกโฟลเดอร์ที่คุณตั้งไว้แล้วได้เลย
outlook-choose-backupfolder
4. ทำการ export ไฟล์ข้อมูลจากอีเมล์ใน Outlook 2013 ซึ่งจะปรากฏเงื่อนไขให้เลือกด้วยว่าจะ export ไฟล์ข้อมูลอย่างไร จากนั้น ในทุกๆ ครั้งที่คุณต้องการแบ็คอัพไฟล์ข้อมูลจาก Outlook 2013 ก็เพียงเข้าไปจัดการที่ Import/Export แล้วทำตามขั้นตอนที่ว่ามาข้างต้นในโฟลเดอร์เดียวกันครับ
outlook-choosebackuplocation

outlook-remove-duplicates

อีกวิธีหนึ่งในการแบ็คอัพไฟล์ข้อมูลจาก Outlook 2013 ที่น่าสนใจคือการแบ็คอัพไฟล์ข้อมูลไว้ในระบบจัดเก็บบนกลุ่มเมฆ หรือ cloud storage ซึ่งผู้ใช้งาน Outlook 2013 ภายใต้ Online Office Suite ของ Office 365 ก็จะมีบริการนี้จัดมาให้ใช้พร้อมกันอยู่แล้ว แต่ผู้ใช้ Outlook 2013 ประเภทโปรแกรมแยกใช้ แต่สนใจจะจัดเก็บไฟล์ในแบบ cloud บ้าง ก็สามารถสมัครใช้งานกับผู้ให้บริการ อย่างเช่น backblaze ซึ่งก็จะมีให้เลือกตามแพคเกจกันไป ซึ่งข้อดีของการจัดเก็บข้อมูลแบ็คอัพบน cloud นี้ก็คือ พื้นที่การจัดเก็บมีมากมายมหาศาล เพราะผู้ใช้งานสามารถเลือกแพคเกจแบบ unlimited ได้ ซึ่งก็น่าจะเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในอนาคตอันใกล้อย่างแน่นอนครับ
ลิขสิทธิบทความของ 2beshop.com
ผู้แทนจำหน่าย Microsoft Office365

วิธีสร้างสูตร Excel ใน Office 365


ใครที่ใช้งาน Microsoft Excel ย่อมหนีไม่พ้นการใช้เพื่อสร้างสูตรคำนวณนู่นนี่นั่นกันทุกราย หลายคนจากที่ไม่เคยสร้างสูตรได้ เพราะความเข้าใจว่าเป็นอะไรที่แค่คิดก็ปวดหัวแล้ว บวกกับ Microsoft Excel เวอร์ชั่นแรกๆ ค่อนข้างจะมีฟังก์ชั่นคำนวณสูตรที่ยุ่งยากพอสมควร แต่ไมโครซอฟท์ก็ได้พัฒนาการสร้างสูตรให้ใช้งานง่ายขึ้น ตอบสนองผู้ใช้งานมากขึ้น
เช่นเดียวกันครับ ใน Office 365 ก็ได้เพิ่มการปรับแต่ง Microsoft Office ให้ใช้งานง่ายยิ่งขึ้่นไปอีก โดยเฉพาะฟังก์ชั่นการสร้างสูตรที่มีฟังก์ชั่นบิลท์อินเข้ามาเสริม ทำให้การคำนวณสูตรต่างๆ บน Microsoft Excel เป็นอะไรที่สำเร็จรูปมากยิ่งขึ้น
แต่ก่อนนั้นการจะคำนวณสูตรใดๆ เราก็จะต้องไปตั้งค่าในเซลล์ และเราก็จะพบกับความน่าแปลกปนน่าเบื่อพอสมควร ที่โปรแกรมมักจะไม่โชว์การตั้งค่าคำนวณที่เราสร้างในเซลล์นั้นๆ เลย แต่จะแสดงผลลัพธ์จากการใส่ค่าสูตรเท่านั้น จึงเป็นปัญหาสำหรับคนที่จำเป็นต้องสร้างสูตรเพื่องานนำเสนอด้วย และที่หลายๆ คนน่าจะเจอบ่อยก็คือ เวลาใส่ค่าลงไปในเซลล์ แม้จะเปลีย่นตำแหน่งเซลล์ไปแล้ว แต่หากเราให้โปรแกรมคำนวณสูตรให้โดยใช้ AutoSum ก็จะได้ผลลัพธ์เหมือนกับค่าตั้งในเซลล์อื่นด้วยซะอย่างนั้น!
มาดูฟังก์ชั่นการคำนวณสูตรฉบับปรับปรุงใหม่บน Office 365 กันครับ จะเห็นว่ามีสูตร built-in เพิ่มเข้ามาเยอะพอสมควร แล้วแบบไหนจะใช้อย่างไร
Writing Formulae Figure-1
1. ในแท็บ Formulas จะมีแผนคำนวณสูตรที่เป็นฟอร์มสำเร็จรูปมาให้เราใช้มากขึ้น อย่างเช่นสูตรคำนวณค่าเฉลี่ยสำเร็จรูป (Average) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันในการสร้างสูตรบนใบงาน เช่นในตัวอย่าง เราจะสร้างสูตรในการคำนวณหาค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยวตลอดทั้งปี โดยคิดค่าเฉลี่ยออกมาเป็นรายเดือน เราก็จะต้องทำการกำหนดตัวตั้งในการคำนวณคือจำนวนเดือนและมูลค่าการใช้จ่าย ก็ใช้หมวด Average ในฟังก์ชั่น AutoSum ส่วนในเซลล์ก็พิมพ์ชื่อเดือนลงไปว่า January แล้วลองคลิ้กที่มุมล่างขวาของเซลล์ให้ลูกศรเป็นเป็นกากบาท จากนั้นคลิ้กลากกากบาทลงมาด้านล่าง ก็จะปรากฏ hover help เป็นจอเล็กๆ คอยบอกเราว่าตำแหน่งที่เราลากลงไปนั้นถึงเดือนไหนแล้ว ซึ่งก็จะไปจบที่เดือน “ธันวาคม” โดยอัตโนมัติ
Writing Formulae Figure-2
2. หลังจากเราใช้หมวด Average ตั้งค่าเดือนออกมาให้เราครบถ้วนโดยอัตโนมัติแล้ว ก็มาใส่ค่า value หรือจำนวนเงินคิดเป็นมูลค่า โดยวางเคอร์เซอร์ไปที่เซลล์ที่เราต้องการใช้สูตร จากนั้นก็สลับไปที่แท็บ Home จากนั้นลากลูกศรเมาส์ไปที่ปุ่ม AutoSum แล้วเลือกสูตรตั้งค่าเป็น Average (ถ้าหาปุ่ม AutoSum ไม่พบ ก็ไม่ต้องตกใจครับ ให้เลือกปุ่มสัญลักษณ์เครื่องหมาย ∑ ได้เลย)
Writing Formulae Figure-3
3. ตั้งค่าการผันแปร (range) โดยในแผ่นงานที่เห็นในภาพจะเห็นว่า ค่าเฉลี่ยของจำนวนเงินที่คิดเป็นมูลค่าได้ถูกคำนวณออกมาตามสูตร built-in ที่กำหนดด้วย AutoSum เรียบร้อยแล้ว
Writing Formulae Figure-4
4. เลือกเคอร์เซอร์ขึ้นมาหนึ่งอันในเซลล์เปล่า แล้วกด Enter จะเห็นค่าเฉลี่ยที่ใช้สูตรคำนวณปรากฏออกมา
Writing Formulae Figure-6
5. วิธีการใช้ฟังก์ชั่นนับจำนวน ฟังก์ชั่นนับจำนวนจะหาได้ด้วยการตั้งค่า =COUNT
Writing Formulae Figure-5 (1)
6. การใช้ฟังก์ชั่นหาผลลัพธ์สูงสุด-ต่ำสุด หาได้ด้วยการตั้งค่า =MAX และ =MIN
Writing Formulae Figure-7
7. การใช้ฟังก์ชั่นเรียงลำดับ ในกรณีที่เราต้องการจัดอันดับหลังจากใช้ฟังก์ชั่นหาผลลัพธ์สูงสุด-ต่ำสุด เช่นในตัวอย่างนี้ เราต้องการจัดอันดับใหม่ ด้วยการเรียงจากเดือนที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุดไปยังต่ำสุด ก็ทำได้โดยการวางเมาส์ไปไฮไลท์ที่ชื่อเดือนและค่าใช้จ่าย จากนั้นไปที่เมนูด้านขวาของแท็บ Home คลิ้กที่ปุ่ม Click the Sort & Filter จากนั้นเลือก Custom Sort แล้วตั้งค่าคอมลัมน์ค่าใช้จ่าย (หรือคอลัมน์ B ตามตัวอย่าง) แล้วเลือกคำสั่ง Largest to Smallest แล้วคลิ้ก OK
Writing Formulae Figure-8
ลิขสิทธิบทความของ 2beshop.com
ผู้แทนจำหน่าย Microsoft Office365

Tips : เพิ่มลายเซ็นของคุณอย่างง่ายดายบนแผ่นงาน Excel เวอร์ชั่น Office 365

doc-add-digital-signature-1
หลายครั้งที่เวลาเราส่งไฟล์งานเอกสารไปหาผู้รับ เราก็อยากจะระบุตัวตนของเราลงไปในเอกสารนั้นๆ เพื่อให้เป็นที่จดจำแก่ผู้รับและเพื่อให้ทราบแหล่งที่มาของเอกสารเพื่อไม่ให้เกิดการทำซ้ำหรือแอบอ้าง และผู้ใช้งานส่วนมากก็มักจะไม่ทราบว่ามีวิธีการสร้างลายเซ็นอย่างง่ายๆ ด้วยเครื่องมือที่อยู่ในโปรแกรม Microsoft Excel เวอร์ชั่นล่าสุด Office 365 ซึ่งวันนี้เราจะแนะนำการสร้างลายเซ็นด้วยตัวคุณเองบนแผ่นงาน (worksheet) ในโปรแกรม Microsoft Excel ครับ
ก่อนจะเริ่มต้นทำการเพิ่มลายเซ็นลงไปบนแผ่นงาน ก็ต้องมีลายเซ็นของคุณหรือหน่วยงานของคุณก่อน จะเป็นลายเซ็นแบบเขียนด้วยลายมือ แบบพิมพ์ด้วยฟอนท์สวยงาม หรือเครื่องหมายการค้า โลโก้บริษัท ก็ได้ทั้งนั้นครับ เมื่อได้ลายเซ็นที่ต้องการแล้ว ก็ให้เซฟลายเซ็นนั้นเป็นไฟล์รูปภาพ เก็บไว้ที่โฟลเดอร์ในคอมพิวเตอร์ของคุณ พักตรงนั้นไว้ก่อน เพื่อมาทำขั้นตอนดังต่อไปนี้ครับ
1. เปิดหน้า worksheet ที่คุณต้องการแนบลายเซ็น ทั้งนี้ต้องให้แน่ใจด้วยว่า ข้อมูลหรือรายละเอียดใดๆ ในแผ่นงานนั้นๆ จะต้องไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงแก้ไขอีก
2. ลากเคอร์เซอร์ไปตรงเซลล์ว่างๆ ในตำแหน่งที่คุณจะแนบลายเซ็นลงไป
3. ไปที่แถบเครื่องมือ คลิ้ก Insert > Signature Line > Microsoft Office Signature Line การแนบลายเซ็นโดยใช้เครื่องมือตัวนี้ ถ้าเป็น Microsoft Excel ในเวอร์ชั่น 2007 และ 2010 จะมีป๊อปอัพขึ้นมาแจ้งทันทีหลังจากเราคลิ้กเลือก Microsoft Office Signature Line ก็ไม่ต้องตกใจว่าเราทำอะไรผิดนะครับ เราก็แค่ติ๊กไปที่ข้อความ Don’t show this message again ตามภาพด้านล่าง แล้วคลิ้ก OK สู่ขั้นตอนต่อไปได้เลย
4. จะสังเกตเห็นว่ามีป๊อปอัพขึ้นมาให้เรากรอก ก็ไม่ต้องงงว่าจะให้เรากรอกอะไรยังไงบ้าง ทำตามนี้เลยครับ
- ในช่อง Suggested signer ให้กรอกชื่อจริงของคุณลงไป
- ในช่อง Suggested signer’s title ให้กรอกตำแหน่งของคุณลงไป
- ในช่อง Suggested signer’s e-mail address ให้กรอกอีเมล์ของคุณลงไป
- ไล่ลงมาถึงเช็คบ็อกซ์ด้านล่าง ทีนี้จะมีเงื่อนไขมาให้เราเลือก คือ Allow the signer to add comment in the Sign dialog คืออนุญาตให้เจ้าของลายเซ็นใส่คอมเมนท์เพิ่มเติมใน sign dialog ได้ กับอีกอันหนึ่งคือ show sign date in signature line คือให้สามารถระบุวันที่ลงไปในลายเซ็นได้ ก็ให้ติ๊กเลือกอันหลังไป เสร็จแล้วคลิ้ก OK
5. ถึงตรงนี้เราก็จะเห็นว่ามีลายเซ็นของเราแทบลงไปใน worksheet เรียบร้อยแล้ว ในตำแหน่งที่เราลากเคอร์เซอร์ไปวางไว้ในข้อ 2 แต่ในลายเซ็นสังเกตเห็นมั้ยครับว่าทำไมมีตัว X ตัวใหญ่ขึ้นมาด้วย ซึ่งเดี๋ยวเราจะรู้ว่ามันคืออะไร
6. ดับเบิ้ลคลิ้กที่ลายเซ็น จะมีป๊อปอัพ Get a Digital ID ขึ้นมา เพื่อให้เราเลือกตั้ง ID ให้กับลายเซ็นของเรา เช่นในตัวอย่างจะเลือก Create your own digital ID จากนั้นก็คลิ้ก OK เพิ่มเติม : โหมดนี้จะแตกต่างจาก Microsoft Excel 2013 อย่างสิ้นเชิงครับ ในเวอร์ชั่น 2013 หากเราเลือก Get a digital ID เราอาจจะต้องเสียค่าดาวน์โหลด ID จากไมโครซอฟท์ ซึ่งถ้าไม่อยากเสียสตางค์ก็ต้องคลิ้ก No เพื่อออกจากการตั้งค่าตรงนี้ไป แต่ใน Office 365 สามารถให้เราตั้งค่า ID ตรงนี้ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ อีกแล้ว
7. ถึงขั้นตอนนี้ ก็จะมีป๊อปอัพขึ้นมาให้เรากรอกข้อมูลเพื่อเป็น ID ก็ใส่ข้อมูลเหมือนกับข้อ 4 เลยครับ
8. รูปภาพประกอบลายเซ็นที่เราทำไว้ก็จะได้ใช้ในขั้นตอนนี้แหละครับ ให้เราทำการอัพโหลดรูปภาพลงไปโดยคลิ้กที่ Select Image เมื่อได้ภาพแล้วก็จะมีพรีวิวให้เราดูอีกที ถ้าภาพตรงกับลายเซ็นที่ต้องการใช้ ก็ให้คลิ้ก Sign
9. ก็จะปรากฏลายเซ็นของเราแนบอยู่ใน worksheet โดยที่ครั้งต่อๆ ไปเมื่อเราต้องการแนบลายเซ็นในเอกสารครั้งใด ก็นำทิปส์นี้ไปใช้ได้เสมอครับ แต่มีข้อแนะนำอีกอย่างหนึ่งคือ จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไข ข้อมูลในเอกสารแนบลายเซ็นลงไปแล้ว
ลิขสิทธิบทความของ 2beshop.com
ผู้แทนจำหน่าย Microsoft Office365

Office 365 : ลองใช้ Document collaboration จัดการงานเอกสารผ่านอีเมล์ได้ทันที


ผู้ใช้งาน Windows ทุกคนย่อมต้องเคยใช้บริการ Microsoft Outlook ระบบอีเมล์ที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และคนที่ใช้งานโปรแกรม Outlook ก็ย่อมจะทราบดีว่าระบบอีเมล์ตัวนี้มีข้อดีข้อด้อยอย่างไร ซึ่งต้องยอมรับว่า แม้ไมโครซอฟท์จะพัฒนา Outlook ให้ฉลาดขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ได้เป็นเพียงระบบอีเมล์ธรรมดาๆ อย่างเดียว แต่ยังทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยที่หลากหลายและแบ่งเบาภาระเรื่องการนัดหมายธุระสำคัญของเราได้ในระดับหนึ่งก็ตาม แต่ Outlook ก็ยังมีจุดด้อยอยู่บ้างตรงที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือด้านงานเอกสารแนบหรือไฟล์แนบที่มากับอีเมล์ให้เราได้จัดการบน Outlook ได้เบ็ดเสร็จแบบ one stop service (ขอยืมคำฮิตมาใช้หน่อย) ได้อย่างที่ผู้ใช้ยุคนี้ต้องการเท่าที่ควร
ทีมนักพัฒนา Microsoft Exchange ได้มีการนำเสนอโปรเจคท์พัฒนาการร่วมมือกันระหว่างโปรแกรม (Collaboration) ในการประชุมของทีม Exchange เมื่อช่วงต้นปี สาระสำคัญของโปรเจคท์ Collaboration นี้อยู่ที่การผนึก service 2 ชนิดให้สามารถทำงานร่วมกันได้ และบริการงานอีเมล์ของ Outlook กับบริการงาน document ก็คือสิ่งที่ทีมพัฒนาของ Exchange ได้เริ่มลงมือปรับโฉมใหม่อย่างจริงจัง และโปรเจคท์ที่ว่าก็แล้วเสร็จออกมาเป็น Document collaboration บน Outlook Web App ของ Office 365 เรียบร้อยแล้ว
Document Collaboration ก็ไม่มีอะไรที่ซับซ้อนครับ อธิบายได้ตรงตัวเลยก็คือการทำงานร่วมกันของเซอร์วิส 2 ประเภทให้มีประสิทธิภาพเป็นหนึ่งเดียวบน Outlook Web App อย่างที่กล่าวไว้ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ผู้ใช้งาน Outlook รอคอยก็ว่าได้ เพราะสามารถจัดการกับงานเอกสารได้จบบน Outlook ให้พร้อมตอบกลับและส่งต่อได้เลยในคราวเดียว แล้วหน้าตาของ Document collaboration บน Outlook Web App จะเป็นอย่างไร น่าใช้งานขนาดไหน มาดูกันครับ
tjbjdxg
ปรับมุมมองอีกด้าน ให้เป็นพื้นที่จัดการงานเอกสาร
ปกติแล้วเวลาที่เราเช็คเมล์ผ่านทาง Outlook เราก็จะคุ้นกับหน้าจอที่มีฝั่งซ้าย-ฝั่งขวา หรือมุมมอง side-by-side โดยฝั่งซ้ายจะแสดงจดหมายใน inbox ทั้งหมด ส่วนฝั่งขวาก็คือจดหมายที่เราเปิดอ่าน ก็จะมีไฟล์แนบเป็นเอกสารบ้าง เป็นรูปภาพบ้าง แล้วแต่ว่าต้นทางจะส่งอะไรมาหาเรา แต่ใน Outlook Web App โฉมใหม่ต่อจากนี้ ด้านขวาจะไม่ได้ทำหน้าแค่ให้เรียกดูไฟล์แนบอย่างเดียวแล้วครับ แต่ให้เราสามารถจัดการเปลี่ยนแปลง แก้ไข ก่อนตอบเมล์หรือส่งเมล์ต่อได้ทันที
ftkhntrdu6r
mdfhtrhdke
จากภาพจะเห็นได้ว่า ในเบื้องต้นก็ยังมีการปรับปรุงให้เราเรียกดูไฟล์แนบจำพวกไฟล์รูปภาพได้แบบเต็มจอ แต่ก็มีโหมดจัดการไฟล์แนบมาให้ใช้แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดไฟล์ออกมา แล้วค่อยแก้ไขไฟล์ทีหลังเหมือนเมื่อก่อน ที่นี้เราจะตั้งชื่อไฟล์ใหม่ เพิ่มหรือลดไฟล์แนบก่อนส่งเมล์หาใคร ก็จัดการได้ทุกขั้นตอนตั้งแต่ตรงนี้ ด้วยเครื่องมือตัวใหม่คือ Edit a Copy ซึ่งจะปรากฏอยู่ที่มุมบนด้านขวาของไฟล์แนบนั่นเอง
โดยเมื่อเราคลิ้กที่ Edit a Copy หน้าจอจะปรากฏกระดานแก้ไขไฟล์แนบแบบที่เห็นนี้
drhbgdr
yyikmdnrse
จากนั้นหลังจากที่เราจัดการแก้ไขไฟล์แนบแล้ว ระบบก็จะบันทึกงานที่เราแก้ไขอัตโนมัติ แค่ตรวจทานงานที่เราแก้ไขอีกสักนิดว่าเรียบร้อยหรือไม่ มีตกหล่นอะไรตรงไหน ถ้าเรียบร้อยแล้วก็คลิ้ก Send ส่งเมล์ได้เลยครับ
ในแง่ของความสะดวกนี่เรียกว่าได้ใจผู้ใช้พอสมควรครับ เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการ switch back จากหน้า Outlook ไปดูไฟล์แนบที่อยู่คนละหน้าต่างกัน คือทำทุกอย่างได้จบในหน้าเดียว ซึ่งก็คือคุณสมบัติที่ผู้ใช้งาน Outlook อยากจะได้มานานแล้ว และออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่ายดีทีเดียว
ของแถมเพิ่มเติมใน Document collaboration
นอกเหนือจากโฉมใหม่ที่เราได้ว่ากันไปแล้ว ก็ยังมีอีก 2 ฟีเจอร์ที่ทีม Exchange แถมมาให้ผู้ใช้งานด้วย คือเรื่องของมุมมองที่เขาทำให้เห็นหน้าตาของไฟล์แนบได้ชัดเจนกว่าเดิมด้วยขนาดของไอคอนที่ใหญ่ขึ้น เพิ่มสีแสดงสัญลักษณ์ของไฟล์มาให้สังเกตง่าย เช่น ไฟล์เอกสาร Word ก็จะใช้สีน้ำเงิน ไฟล์งาน PowerPoint ก็จะใช้สีส้ม เป็นต้น
อีกหนึ่งของแถมเพิ่มความง่ายในชีวิตก็คือเราสามารถดาวน์โหลดไฟล์แนบทั้งหมดพร้อมกันได้ในคราวเดียวในรูปแบบของไฟล์ .zip แค่คลิ้กไปที่ Download All ครับ
gjmnfctu

ลิขสิทธิบทความของ 2beshop.com
ผู้แทนจำหน่าย Microsoft Office365

10 กลเม็ดเปลี่ยน OneNote ให้เป็นผู้ช่วยยอดเยี่ยมประจำ Office 365


1
ในบรรดาแอพพลิเคชั่นทั้งหลายใน Office 365 ดูเหมือนว่า OneNote จะกลายเป็นพระรองที่ผู้ใช้งานมักให้ความสำคัญน้อยมากมาโดยตลอด ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว OneNote ได้รับการพัฒนาให้เป็นผู้ช่วยชั้นดีมีบทบาทต่องานเอกสารอย่างเต็มตัว แต่ด้วยความเคยชิน OneNote ก็เลยยังเป็นเพียงแค่โปรแกรม “Notepad” ในสายตาของผู้ใช้งานทั่วไปอยู่ดี
เหตุนี้จึงทำให้ Office 365 ยกเครื่อง OneNote ใหม่จนไฉไลไม่น้อยทีเดียว เพราะถ้าไม่ดีจริงเขาก็คงไม่เอามาพัฒนาให้รวมอยู่ในกลุ่มแอพพลิเคชั่นเพื่อการใช้งานร่วมกันในระบบ Cloud อยู่แล้วถูกมั้ยครับ วันนี้เราเลยอยาากจะยกให้ OneNote เป็นพระเอกของงาน ด้วยการแจกแจงข้อดีของการใช้ OneNote ที่ทำอะไรต่ออะไรได้สารพัด และไม่ใช่แอพฯ ไม้ประดับ แต่อาจจะเป็นผู้ช่วยที่ขาดไม่ได้ของผู้ใช้ Office 365 อีกจำนวนไม่น้อยในอนาคตอันใกล้นี้ก็ได้
ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า คุณสมบัติเด่นๆ ของ OneNote เพื่อผู้ใช้ Office 365 มีอะไรที่เป็นจุดขายบ้าง OneNote ถูกออกแบบมาให้สามารถซิงค์กระดาษจดข้อความไปยังหลายๆ แพลทฟอร์มที่คุณใช้งานเป็นประจำ (ซึ่งรวมไปถึง Mac OSX ก็รู้จัก OneNote แล้วด้วย), OneNote ไม่ใช่แค่มีไว้ให้เรา copy/paste แล้ว save ข้อความเข้าเครื่องอย่างที่ผ่านๆ มา แต่ยังสามารถแชร์ไปยังเพื่อนหรือแวดวงของคุณได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากกับการส่งข้อความนัดกหมายการประชุม และที่มันเทพมากก็คือ เราสามารถแทรกไฟล์เสียง, วิดีโอ, สเปรดชีทจากไฟล์ Excel, สไลด์จาก PowerPoint รวมถึงตารางแจ้งกิจกรรมใน Outlook ลงไปใน OneNote ได้แล้วในตอนนี้
พอจะทราบแล้วว่า OneNote มีดียังไง ทีนี้ลองมาดูกันครับว่าในบรรดาผู้ใช้งานจริง (ซึ่งแน่นอนว่าใครมีบัญชี Microsoft Live อยู่แล้วก็จะยิ่งดีใหญ่) เขาใช้ OneNote ทำอะไรเจ๋งๆ กันบ้าง
Office 365 OneNote
1. ระบบป้องกันความปลอดภัยให้กับรหัสผ่าน (Password Protection)
ฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มเข้ามานี้ มองผ่านๆ หลายคนคงจะรู้สึกว่า ก็ไม่เห็นจะจำเป็นต้องมีเลย เราตั้งค่าตั้งแต่ทางเข้าระบบไว้แค่นั้นก็น่าจะเพียงพอแล้ว แต่อย่าลืมว่า OneNote ไม่ได้มีบทบาทเป็นแค่กระดาษจดข้อความอีกต่อไปแล้ว การใช้งานร่วมกับแอพฯ ตัวอื่นๆ บน Cloud แบบนี้ย่อมจะต้องมีการเชื่อมโยงกับ service หลากหลายทั้งการทำธุรกรรมทางการเงิน เอกสารที่เป็นความลับ หรือเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ ไมโครซอฟท์ก็เลยรอบคอบติดฟีเจอร์นี้มาให้ด้วย ส่วนฟีเจอร์ตัวนี้ก็หาไม่ยากครับ แค่คลิ้กขวาในแท็บ section จากนั้นก็เข้าไปตั้งค่ารหัสผ่านได้เลย
Office 365 OneNote
2. การซิงค์ข้อมูล
ฟีเจอร์ซิงค์ข้อมูลใน OneNote ถูกออกแบบมาให้เป็นระบบออโต้เลยก็ว่าได้ เพราะระบบจะสั่งให้ไฟล์ของเราซิงค์เข้ากันเองโดยอัตโนมัติเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเกิดขึ้น แถมการซิงค์ข้ามอุปกรณ์ก็ทำได้ง่ายมากๆ อีกทั้งออพชั่นของมันก็ไม่ได้มีอะไรที่ซับซ้อน ถือว่าเป็น syncing ที่ใช้ง่ายที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาในหลายๆ โปรแกรมเลยครับ
Office 365 OneNote
3. การแชร์ลิงค์ร่วมกันในระบบ Office 365
การแชร์ลิงค์ตัวนี้เทียบไปแล้วก็คล้ายกับการแชร์ document ในกูเกิ้ลไดรฟ์ด้วยหลักการเดียวกันครับ เพราะเราสามารถแชร์ไปยังกลุ่มของเราให้สามารถเข้าถึงเอกสารได้รวมถึงการแก้ไขเอกสารด้วย อีกทั้งยังใช้งานได้ทั้งออฟไลน์และออนไลน์บน OneDrive นั่นเอง
Office 365 OneNote
4. แทรก PowerPoint Slides ได้
การแทรกสไลด์ลงไปใน OneNote ก็ง่ายแสนง่ายอีกเช่นกัน แค่เพียง copy/paste ก็จะได้งานสไลด์ฉบับเต็มใน PowerPoint มาอยู่บน OneNote ได้แล้ว แถมยัง pin หรือติดหมุดหน้าที่ต้องการให้อยู่ตำแหน่งบนสุดได้อีกต่างหาก
Office 365 OneNote
5. Send To OneNote
ฟีเอจร์ตัวนี้เป็น utility ตัวหนึ่งบนทาสก์บาร์ ช่วยให้เราไฮไลท์ส่วนสำคัญใน document จากแอพฯ ตัวอื่นๆ ไปยัง OneNote ได้ ด้วยเครื่องมือจัดการที่สามารถตัดแปะหน้าจอก็ได้ หรือส่งข้อความด่วนได้
Office 365 OneNote

Office 365 OneNote

6. Spreadsheet
ความสามารถอีกอย่างหนึ่งของ OneNote ก็คือการทำหน้าที่คล้ายๆ shortcut แต่เสมือนจริง (และใช้งานได้จริง) ของแอพฯ กลุ่มdocument ตัวอื่นๆ รวมถึงการใช้งานรูปแบบตารางของ Spreadsheet ที่อยู่ใน Excel ก็ทำได้เทียบเท่ากันด้วย
Office 365 OneNote

Pic9

7. Outlook
คุณสมบัติเด่นๆ ใน Outlook อย่างเช่นฟีเจอร์หลักที่ใช้งานควบคู่กับระบบอีเมล์บ่อยครั้งอย่างเช่นปฏิทิน, ตั้งเวลานัดหมาย หรือแม้แต่ฝากไฟล์แนบในอีเมล์ ก็ทำได้ครบถ้วนบน OneNote ซึ่งฟีเจอร์ตัวนี้จะอยู่ในเมนูของ Outlook ครับ
Office 365 OneNote

Office 365 OneNote
8. เปลี่ยนสีได้
เบื่อใช่มั้ยครับ ที่โปรแกรมจัดการเอกสารส่วนใหญ่มักไม่ใส่ลูกเล่นตรงนี้มาให้เราเลย ซึ่งก็ยังดีที่ Office 365 บังเกิดมาให้เราทันใช้ในยุคสมัยนี้ ก็เลยเป็นอานิสงส์ให้ OneNote ยังได้รับการเผื่อแผ่ฟีเจอร์ตกแต่งมาให้เราได้ใช้ด้วย ขั้นตอนคือคลิ้กขวาที่แท็บ จากนั้นก็คลิ้กที่ Properties ก็จะเจอพาเลทท์สีให้เราเลือกเปลี่ยนเอาได้ตามใจชอบ
Office 365 OneNote

Office 365 OneNote

9. บันทึกไฟล์เสียงและไฟล์วิดีโอได้
อีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้งานเอกสารมีมิติมากขึ้นก็คือการเพิ่มลูกเล่นด้าน media มาให้เราใช้ใน OneNote จริงๆ แล้วเราอาจจะเคยเห็นหรือเคยใช้ฟีเจอร์นี้กันมาบ้างแล้วใน PowerPoint เวอร์ชั่นก่อนๆ แต่ OneNote ได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่ายขึ้น มีการจัดการเพลย์เยอร์ให้เสร็จสรรพ บันทึกไฟล์ภาพ-เสียงผ่านตัวแอพเลยก็ยังได้ และการแสดงผลก็กลมกลืนกับอินเทอร์เฟซด้วย
Office 365 OneNote
10. เพิ่ม Checklist ได้
ฟีเจอร์นี้จะว่าเป็นของแปลกของแอพฯ ตระกูล document ก็ว่าได้ จะว่าไปก็คือการทำหน้าที่เป็นตัวช่วยจำในสิ่งที่ต้องทำหรือบรรดา to do list ทั้งหลายของเรานั่นเอง ใครอยากจะลองใช้งานดูก็หาไม่ยากครับเพราะอยู่ตรงแท็บแรกเรียกแอพฯ ขึ้นมาก็ใช้งานได้เลย
ใครที่ใช้งาน Office 365 อยู่แล้ว ก็อย่าเพิ่งมองข้าม OneNote หรือคิดว่าเป็นแค่แอพเสริม เพราะโฉมใหม่ของเขานี่ช่วยให้เราจัดการงานเอกสารได้จบในแอพเดียว ซึ่งข้อดีคือการเรียกดูหรือจัดการไฟล์จะสะดวกมากพอๆ กับใช้แท็บเล็ทเก่งๆ ตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้ (ซึ่งก็หวังว่าใครที่มีแท็บเล็ต Surface ใช้อยู่ด้วยแล้วก็น่าจะยิ่งฟินเข้าไปอีก) หรือหากใครลองใช้ไปสักพักแล้วเห็นว่าเจ้า OneNote ยังทำอะไรเจ๋งๆ ได้อีก ก็อย่าลืมแชร์ให้พวกเราได้ตามไปทดลองใช้บ้างนะครับ
ลิขสิทธิบทความของ 2beshop.com
ผู้แทนจำหน่าย Microsoft Office365